Project Management คือของเหลว

1 ปีครึ่งที่ผ่านมา ได้ทำงานใน Role Project Manager

ทำให้เข้าใจลึกซึ้งว่า Project Manager นั้นควรมีสถานะเป็นของเหลว

งานบริหารโปรเจค คือ คำแปลที่ตรงตัว สำหรับคำว่า Project Manager

แต่รายละเอียดปลีกย่อยของตำแหน่งนี้ มันมีมากกว่านั้น และในแต่ละองค์กร ก็ไม่สามารถให้รายละเอียดได้ตรงกัน ขึ้นอยู่กับโครงสร้าง ธุรกิจขององค์กร และลักษณะขององค์กร แม้กระทั่งลักษณะของ “คนในองค์กร” แถมไปอีกด้วย

กฎของการเป็น Project Manager ที่ดี นั่นคือ “ไม่มีกฎ”

คุณไม่สามารถนำทฤษฎีใดๆ มาใช้แบบเฉพาะเจาะจง เพียงทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งได้

มันไม่ใช่การนำคำกล่าวอ้างใน Internet ว่า Project Manager ที่ดีควรมีคุณสมบัติ หนึ่ง .. สอง .. สาม .. สี่ … — นี่ไม่ใช่ .. มันใช้จริงไม่ได้เลย

การที่จะเป็น Project Manager ที่ทำงานได้จริง และได้ดี .. คือคุณต้องยืดหยุ่นให้เป็น

ยืดหยุ่นแม้กระทั่งการเปลี่ยนแปลงสถานะตัวเองเป็นของเหลว ที่สามารถจะไหลไปตามภาชนะที่รองรับคุณอยู่

เมื่อต้องไปทำโปรเจคแก้ว … คุณก็ต้องไหลไปในแก้ว

เมื่อต้องไปทำโปรเจคแจกัน .. คุณก็ต้องไหลไปในซอกเล็กซอกน้อยของแจกันทุกส่วนให้พอดี

เมื่อถูกนำไปแช่แข็งในตู้เย็น .. คุณก็ต้องเป็นน้ำแข็งที่ถูกถอดออกมาตามแม่พิมพ์ที่รองรับคุณอยู่ และทันทีที่เอาคุณมาตั้งไว้ในอุณหภูมิปกติ — คุณต้องพร้อมที่จะละลายกลายเป็นของเหลว ที่สามารถไหลไปในภาชนะรูปแบบอื่นได้อีกครั้ง

เพราะอะไร ?

การเป็น Project Manager นั้น ต้องบริหารงานหลายส่วน

บริหารงาน , บริหารคน , บริหารค่าใช้จ่าย, บริหารโครงการ และแม้กระทั่งบริหารการทำงานของตัวคุณเอง

การบริหารในหลายๆส่วนแบบนี้ ถ้าคุณยึดติดกับการทำงานแบบเดิม .. ใช้กฎเดิมๆ ในทุกโปรเจค บอกเลยว่ายากที่มันจะสำเร็จ

เพราะทุกโปรเจคมันมี Pain point และ risk point ที่ต่างกันออกไป คุณต้องตัดสินใจแก้ไขปัญหาในทุกๆวันที่โปรเจคมันคืบหน้า

สิ่งสำคัญที่สุด คือการ Balancing

คุณต้องมีการสร้างสมดุลของทุกๆ ส่วนที่คุณบริหาร .. ทั้งคน .. Business .. Project .. Product แล้วทำการหาจุดตรงกลางที่มันจะ “ดี” สำหรับทุกฝ่ายให้ได้

  • ถ้าคุณอยากทำให้ Product มันดี แต่ต้องใช้เวลานานในการพัฒนา นั่นคือ การตอบรับไม่ทัน Business ที่ต้องการให้เสร็จภายใน x วัน
  • ถ้าคุณอยากให้รองรับ Business ได้ทันใน x วัน แต่ Product ออกมาห่วยเพราะใช้ระยะเวลาอันสั้น นั่นคือ คุณกำลังทำร้าย Product ของคุณเอง
  • ถ้าคุณอยากให้ Product ออกมาดี แถมรองรับ Business ได้ทันใน x วัน นั่นคือคุณต้องใช้คนทำแบบ 24 x 7 นั่นคือคุณกำลังทำร้าย “คนทำงาน”

ความน่าปวดหัวเบื้องต้น นั่นมีอยู่ในทุกโปรเจค

และความท้าทายที่จะได้ทำในสิ่งที่ดีกับทุกส่วน โดยเฉพาะ business ที่จะต้องเอาให้จบให้ได้ในวันที่ business เคาะมา นั่นคือ สิ่งที่คุณต้องทำและทำให้ได้

การ Cut off ฟีเจอร์ หรือ Task งานต่างๆ เป็นทางเลือกในสถานการณ์นี้เสมอ

การที่จะทำทุกอย่างให้ทัน และสมบูรณ์แบบ 100% นั่นคือ คุณต้องลด scope งานลง

คัดออกมาให้ได้ว่า สิ่งที่ควรจะ launch และเป็นสิ่งที่ลูกค้าหรือผู้ใช้งานต้องการจริงๆ มันคือส่วนไหนบ้าง

และส่วนไหนที่สามารถตัดออกไป และต่อเติมในภายหลังได้โดยไม่ทำให้ความต่อเนื่องในการใช้งานมันติดขัด

ฟังดูเหมือนง่าย แต่ยาก

เพราะต้องไม่ลืมไปว่า งานของการ Launch Product มันไม่ได้จบแค่การ Launch

ส่วนของ Marketing จะรับไม้ต่อ เพื่อการ Communication / สร้างแบรนด์ / สร้าง Engagement ฯลฯ

และ Project Manager ต้องไม่ลืมส่วนนี้ ที่โคตรจะสำคัญ

เพราะถ้าคุณ Cut Off จนไม่เหลือสิ่งที่เค้าจะนำไป Highlight เพื่อการ Commu ได้

เมื่อ Product Launch ไปแล้ว ผู้ใช้งานเห็นสิ่งที่คุณ Launch ก็อาจจะคิดในใจว่า “แล้วไง ? ต่างกันตรงไหนกับเจ้าอื่นๆ?”

.

นี่คือที่มาว่า ทำไม Balancing ถึงสำคัญมาก ในจุดนี้

.

ในยุคที่ Agile มาเป็นหลักการทำงานที่ดูใหม๊-ใหม่ สำหรับองค์กรที่เป็น Waterfall

บางบริษัทบอกกับทุกคนว่า “เอาล่ะ .. เราจะใช้ Agile ในการทำงานตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป”

ซึ่งถ้าเอาตามหลักการจริงๆของ Agile — Project Manager จะไม่มีอีกต่อไป จะมีก็แต่ Scrum Master ซึ่ง Skill ของสองตำแหน่งนี้ แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

แต่เชื่อไหมว่า บริษัทที่เป็น Agile แล้วประสบความสำเร็จจริงๆ ยังมีน้อยมากกกกกก

สุดท้ายก็เละๆ เทะๆ ..

เพราะการจะเป็น Agile แบบใช้ได้ผลจริง มีประโยชน์จริงๆ .. นั่นคือ คนทำงานต้องรู้หน้าที่ และรับผิดชอบตัวเองได้

แต่ก็ไร้ศูนย์กลางอยู่ดี เพราะต่างคนต่างทำหน้าที่ของตัวเอง

หมายเหตุ:

ขณะนี้เราไม่ได้เป็น Project Manager

แต่เป็น Product Manager ที่ดูภาพรวมมากขึ้น

แล้วก็ยังหนีงาน Project Manager ไม่พ้นอยู่ดี แค่ลดความเข้มข้นลง 555

Author: AbaiyaMook