Survey จะสัมฤทธิ์ผลได้อย่างไร?
Survey มีได้หลายแบบ
- จากการลงพื้นที่แล้วสำรวจ
- จากการสอบถามผู้คนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย
- จากการมโน (อันนี้เพิ่มไว้ให้มันดูเยอะเฉยๆ 5555555)
Survey ที่สัมฤทธิ์ผลคืออะไร?
มันคือสิ่งที่ เมื่อนำผลสรุปที่ได้จากมันไปใช้แล้วก่อให้เกิดความสำเร็จของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
แล้วสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ว่า มันคืออะไรอีกล่ะ?
สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ต้องการความสำเร็จ มันคือ “โจทย์ที่เราจะต้องตั้งไว้ก่อนทำการ Survey”
ก่อนทำการสำรวจอย่าเพิ่งลงมือทำโดยไม่มีโจทย์
แต่สิ่งที่เราควรจะทำอย่างแรก คือ ตอบให้ได้ก่อนว่า “เราต้องการการสำรวจนี้ไปเพื่ออะไร เพื่อใคร และอย่างไร?”
ถ้าเรายังไม่เข้าใจตัวเอง ว่าเราจะทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ไปเพื่ออะไร .. มันคงยากที่จะเดินไปให้ถึงเป้าหมายโดยไม่หลงทางจนเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์
เป็นที่น่าเสียดาย ถ้า Survey ถูกจัดทำขึ้นมาเพียงเพื่อเป็นกระบวนการหนึ่งที่ “ต้องทำ” แต่ไม่รู้ว่า “ทำไปเพื่ออะไร”
การตั้งโจทย์ คือ การปักหมุดเพื่อให้ได้มาซึ่งกระบวนการในการทำ Survey เช่น
ถ้าเรามีโจทย์ว่า
“จะทำยังไง ให้คนทิ้งขยะลงถัง”
มันดูเหมือนเป็นโจทย์ที่มีคำตอบอยู่แล้วใช่ไหม
บางที พอตั้งโจทย์นี้ คนอาจจะหัวเราะแล้วตอบออกมาเลยก็ได้ ว่าจะไปยากอะไรล่ะ ก็เอาถังขยะตั้งไว้เยอะๆสิ คนจะทิ้งก็ทิ้งเองนั่นแหละ
ทว่าในความเป็นจริง มันไม่ใช่แบบนั้นเสมอไป
การจะทิ้งขยะให้ลงถังแต่ละคน ถ้าเราลงสำรวจจริงๆ มันเกิดจากอะไรได้บ้าง ?
- ถังขยะน้อยไป (ตามที่เราคิดเป็นสิ่งแรกโดยที่ยังไม่ทันลงสำรวจ)
- คนมักง่าย และมองไม่เห็นความสำคัญว่าจะต้องทิ้งลงถัง
- ถังขยะที่เราจัดวาง มองไม่ออกว่ามันเป็นถังขยะ (เรื่องนี้จริงนะ บางรูปแบบก็ไม่สามารถจะมองออก ว่ามันคือถังขยะจริงๆ)
- คนเห็นถังขยะแล้ว แต่ทิ้งไม่ลงอยู่ดี เพราะถังขยะหย่อนให้ลงถังยากจนเกินไป
- ถังขยะล้น จนไม่สามารถรองรับปริมาณคนในบริเวณนั้นได้
- คนไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องทิ้งให้ลงถังขยะ เพราะรู้ว่ายังไงก็มีพนักงานมาเก็บ
- ฯลฯ
จากโจทย์ข้างต้นเพียงแค่โจทย์เดียว นำมาซึ่งวิธีในการแก้ปัญหา และวิเคราะห์ รวมถึงวิธีในการลงสำรวจในมิติต่างๆ มากมาย
ถ้าเราสามารถลิสต์ออกมาได้ว่า ข้อสงสัยที่เป็นไปได้มีดังทุกข้อข้างต้น เราก็จะต้องมีวิธีในการสังเกตในการ Survey ที่เปลี่ยนไปเป็นอีกแบบนึง เช่น
- ยืนสำรวจบริเวณหน้าร้านที่ก่อให้เกิดขยะง่ายๆ เช่น ไอศกรีม, กาแฟ หรือขนมทานเล่น ที่ทานแป๊บเดียวหมด จนต้องมองหาถังขยะเพื่อทิ้ง
- จำลองสถานการณ์ทุกข้อ ที่จะตอบข้อสงสัยเราได้ เช่น จงใจให้ถังขยะล้น แล้วสังเกตพฤติกรรมของคน หรือ การใช้ถังขยะในรูปแบบต่างๆกันตั้งไว้ แล้วสังเกตผลที่ได้รับที่มันจะต้องแตกต่างกันอย่างแน่นอน
จากโจทย์ง่ายๆของบทความนี้ ดูมันจะเป็นเรื่องไร้สาระ
แต่มันก่อให้เกิดผล และนวัตกรรมต่างๆมาอีกมากมาย
- ถ้าเราได้ข้อสรุปว่า คนไม่ทิ้งขยะลงถังเป็นเพราะมองไม่ออกว่าเป็นถังขยะ | เราก็ออกแบบถังขยะที่มอง 1 วินาทีก็รู้ ว่าต้องทิ้งที่นี่
- ถ้าเราได้ข้อสรุปว่า ถังขยะล้น ไม่เพียงพอกับจำนวนคนทิ้ง | เราอาจจะต้องเพิ่มแม่บ้านในการเทถังขยะนั้นบ่อยขึ้น หรือคิดค้นนวัตกรรมในการย่อยสลายขยะในตัว หรือแม้กระทั่งหุ่นยนต์ถังขยะที่สามารถนำตัวมันเองไปทิ้งได้ทุกครั้งที่มันเต็ม
- ถ้าเราได้ข้อสรุปว่า การทิ้งขยะ 1 ชิ้นในมือให้ลงถังนั้นมันยากเกินไป | เราอาจจะต้องออกแบบถังขยะให้มันรองรับกับคนที่ไม่ตั้งใจจะทิ้ง ทิ้งแบบสะเปะสะปะ ทิ้งแบบขอไปที ให้ทิ้งยังไงก็ลงให้ได้
- ถ้าเราได้ข้อสรุปว่า คนไม่มีแรงจูงในในการที่จะต้องทิ้งให้ลงถัง เพราะยังไงก็มีแม่บ้านมาโกยให้อยู่ดี | เราอาจจะต้องสร้างกิมมิค ที่ทำให้เค้ารู้สึกว่า การทิ้งขยะให้ลงถังของเค้ามีความหมาย มีคุณค่า หรือมีผลตอบแทนทันทีแบบเป็นรูปธรรมให้เค้าได้รับ เช่น ทิ้งแล้วถังขยะหัวเราะ ทิ้งแล้วถังขยะเต้นได้ ทิ้งแล้วแลกกับการดูดวงฟรี ฯลฯ เป็นต้น
จะเห็นว่าเมื่อ “โจทย์” ชัด การลงสำรวจหรือการ Survey ก็ดูจะมีพลังที่ยิ่งใหญ่ ที่สามารถก่อให้เกิดสิ่งใหม่ๆ สิ่งดีๆ ที่เป็นแนวทาง ไปจนถึงการสร้างนวัตกรรมได้เลยในอนาคต
วันนี้คุณ Survey ให้สัมฤทธิ์ผลแล้วหรือยัง?
#ตั้งโจทย์ก่อนSurvey
🙂